วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลงที่ชอบ...!!!




เหตุผลที่ชอบเพลงนี้คือ
เพลงมันเพราะดี ถึงแม้ผมฟังแล้วจะไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไรก็ตาม 

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข่าวไอที

Windows 8.1 อัพเกรดฟรี กลางเดือนตุลาคมนี้

     ข่าวนี้ซีเอาใจผู้ใช้ Windows 8 ให้ได้เฮกันดังๆ  เนื่องจากไมโครซอฟท์ประกาศจะเปิดตัว พร้อมให้อัพเกรดฟรี(ผ่าน Windows Store)สำหรับ Windows 8.1 ในวันที่ 17 ตุลาคม ศกนี้ หลังจากนั้นหนึ่งวันจะวางขายในร้านค้าปลีก รวมถึงพีซีรุ่นใหม่ด้วย



          ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ได้โพสต์ข้อความแสดงความตื่นเต้นในบล็อกของบริษัทว่า การส่งมอบ Windows 8.1 ให้กับผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น และยินดีเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมันเป็นการอัพเกรดก่อนครบรอบ 1 ปีที่ Windows 8 เปิดตัวซะอีก ซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows 8 เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2012 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในเวอร์ชันเปิดตัวมีผู้ใช้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะมากมายในการปรับปรุงระบบปฏิบัติการดังกล่าว เนื่องจากมันได้รับการออกแบบให้ใช้บนแท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค และเดสก์ทอป ทำให้มีประเด็นของอินเตอร์เฟซ หรือส่วนติดต่อผู้ใช้ที่สร้างความสับสนให้พอสมควร โดยเฉพาะผู้ใช้พีซีที่บ่นกันอุบว่า Windows 8 ไม่มีปุ่ม Start ซึ่งคอมเมนต์ดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้ว โดย Windows 8.1 จะมาพร้อมกับปุ่ม Start รวมถึงการเพิ่มคุณสมบัติการทำงานใหม่ๆ รวมถึงการพัฒนาการทำงานให้มีสเถียรภาพ และความประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย




       อย่างไรก็ดี สำหรับ Windows 8.1 หากจะบอกว่า เป็นการเพิ่มปุ่ม Start ก็ไม่ค่อยชัดทีเดียว เพราะในการใช้งาน เมื่อผู้ใช้เลื่อนเมาส์ไปที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ มันจะมีโลโกของ Windows 8 โผล่ขึ้นมา ซึ่งไมโครซอฟท์เรียกว่า Start tip และเมื่อคลิกบนโลโกที่ว่านี้ มันจะไม่โชว์เมนูเหมือนปุ่ม Start ที่คุณคุ้นเคย แต่จะแสดง Start Screen ของ Windows 8 อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถปรับแต่งให้มันแสดงรายการของแอพพลิเคชันทีมีอยู่ทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย หากต้องการ


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบเรื่องซอฟต์แวร์ออนไลน์

แบบทดสอบ คลิกที่นี่

Moore's law

Moore's law คืออะไร
          กฏของมัวร์ หรือ Moore's   law  คือ กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี  Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor  นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้ moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของ ทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้นMoore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไปการก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน
            กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์(Moore’s law) ขึ้น  ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม


กฎของมัวร์ (Moore's Law)
       ในปี .2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
         .2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง  ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม
          การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบเทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี .2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์      
          คําว่า กฎของมัวร์” นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า    Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965  ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่ขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975






วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

<<<<บิตตรวจสอบ (Parity Bit)>>>>

         เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์นั้นถึงแม้จะมีความผิดพลาดน้อย เพราะมีความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิดตรวจสอบจึงเป็นบิตที่เพิ่มเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้ตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์
     สำหรับบิตตรวจสอบนั้น ขะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
2. การตรวจสอบบิดภาวะคี่ (Odd Parity)

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัส ASCII


ประวัติ
        รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (EOT - end of text)เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง
รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (code page) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ

รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII
          American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย 

รหัส ASCII
       รหัสแอสกี (ASCII) เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ เป็นคำย่อมาจาก American Standard Code Information Interchange เป็นรหัส 8 บิต แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว  เมื่อใช้แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงไปเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้ตามตาราง



วิธีการอ่านค่าจากตารางแอสกี
1. ชี้ตรงตัวอักษรที่ต้องการแทนรหัส เช่น ก 
2. อ่านค่ารหัสในตารางแนวตั้งตรงตำแหน่ง b7 b6 b5 และ b4 ค่าที่ได้ คือ 1010
3. อ่านค่ารหัสในตารางแนวนอนตรงตำแหน่ง b3 b2 b1 และ b0 ค่าที่ได้ คือ 0001
4. ดังนั้นรหัสแทนข้อมูลของตัวอักษร ก คือ 1010 0001





*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*


รหัส Unicode
     
          ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดย Unicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด

Unicode ต่างจาก ASCII 
     คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่ Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก 
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น




*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*











                    แทนชื่อ-สกุล ด้วยรหัส ASCII

                 ANIRUT PATIMIN

                         A          0100 0001
                         N          0100 1110
                         I           0100 1001
                         R          0101 0010
                         U          0101 0101
                         T          0101 0100
                         space    0100 0000
                         P          0101 0000
                        A          0100 0001
                         T          0101 0100
                         I           0100 1001
                         M          0100 1101
                         I           0100 1001
                         N          0100 1110

                       ทั้งหมด 112 bit = 14 byte

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

 ......ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็นยุคๆตามช่วงเวลา และมีเหตุการณ์สำคัญๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนแปลงเด่นๆ ให้นักศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และสรุปสาระสำคัญ.......

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
MARK I

ENIAC

UNIVAC





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง






คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง







คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง


แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

>>>แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่<<<

อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี


อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
    โครอยากพาตัวเองมาฟอกปอด  สูดอากาศใสๆ ปล่อยใจไปกับธรรมชาติแสนบริสุทธิ์  โดยไม่ต้องออกแรงพายคายัค  หรือปีนเขาให้เหงื่อไหลไคลย้อย   แนะนำให้มาที่  อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี  ซึ่งบริเวณที่ทำการอุทยานถือเป็นป่าผืนใหญ่ใจกลางชุมชนอ่าวลึกที่ยังคงความสมบูรณ์  สงบร่มรื่นด้วยแมกไม้  ดอกไม้นานาพันธุ์  และที่สำคัญทางอุทยานได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางกว่า 1800 ม.  มีสถานีให้ความรู้ทั้งหมด 18 จุดด้วยกัน  เดินเพลินๆ ฟังเสียงน้ำตกเคล้าเสียงนกร้อง  ผ่านดงพืชสมุนไพร  ต้นมะม่วงป่า  ต้นโสกน้ำ  ต้นตะเคียนทอง  ต้นไทร ฯลฯ โดยมีไฮไลท์อยู่ที่  สระธารโบกขรณี  แอ่งน้ำกว้างๆ สีเขียวมารกต  น่าหลงไหล อ๊ะ เห็นอย่างนี้มีกระแสน้ำวน  แถมลึกตั้ง 5 ม. เชียวนะ  ลงเล่นน้ำอาจไม่ปลอดภัย  แนะนำให้ไปที่สระวังไทรน้อย  สระวังฉัตรแก้ว  สระวังเกล็ดหิน



การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
อ.อ่าวลึก  ใช้ทางหลวง 4 มุ่งหน้าไป อ.อ่าวลึก เมื่อถึงสี่แยกอ่าวลึกแล้วเลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวง 4039  ประมาณ 2 กม. ถึงที่ทำการอุทยาน (มีป้ายบอกตลอดทาง)  
โทร. 0-7568-1071, 0-7568-2058


ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
  •  เด็ก 20 บาท
  • ผู้ใหญ่  40 บาท


เปิดให้เข้าชม
ทุกวัน 08.00-16.30 น.


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติคอมพิวเตอร์



บุคคลต่อไปนี้ มีความสำคัญอย่างไร ในประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ จงอธิบาย โดยระบุถึงปีที่เกิดเหตการณ์ และผลงานที่สำคัญ

     


Charles Babbage
  
 คงจะเป็นการดีที่จะกล่าวถึงที่มาหรือต้นตระกูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นมาอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมาจากนิ้วมือมนุษย์ ที่ใช้นิ้วในการนับตัวเลข ใช้ไม้ขีดเขียนบนพื้นดิน หรือใช้ลูกหินมาเรียงต่อกัน
    ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นด้วยการใช้เชือกรอยต่อกัน จัดเรียงให้เป็นระบบ (คล้ายกับลูกคิด) หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการนับ ลักษณะใหญ่ที่คิดกันมักจะเป็นเครื่องยนต์ที่มีกลไก (Mechanics) ที่ประกอบด้วยฟันเฟื่อง รอกและคาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถคำนวณขั้นพื้นฐานได้ ไม่ว่าจะเป็น บวก ลบ คูณ หาร


   ปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้
  
    ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา

    


Lady Augusta Ada Byron
   
เธอเป็นสตรีคนสำคัญที่ช่วยออกแบบเครื่องของแบบเบจ ทั้งยังได้เสนอแนวคิด และเป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมชิ้นแรกเพื่อใช้กับเครื่องดังกล่าว ต่อมาเธอได้ถูกขนานนามให้เป็น "โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก" นอกจากนี้ยังได้ตั้งชื่อภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งด้วยการใช้ชื่อของเธอ นั่นก็คือ ภาษาเอด้า (Ada) นั่นเอง

    Herman Hollerith


   เป็นชาวอเมริกัน เกิด ค.ศ.1860 ตาย ค.ศ. 1929 เป็นผู้คิดเอาวิธีนำเอาระบบบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูลลงในบัตร โดยเลียนแบบจากบัตรของแจ็กการ์ด (Jacquard) ซึ่งเคยใช้วิธีการนี้ควบคุมการให้ลายและพิมพ์สีลงบนผ้า ฮอลเลอริทได้สร้างรหัสสำหรับบัตรเจาะรูขึ้น แล้วจึงนำข้อมูลถ่ายลงบนบัตรเพื่อนำไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่าน เครื่องมือประดิษฐ์ของฮอลเลอริทนี้ได้นำมาใช้ในงาประมวลผลและรายงานผลสำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1890 ซึ่งทำให้ทราบผลลัพธ์เร็วขึ้นมาก โดยสามารถทำเสร็จภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น ในปัจจุบัน การเจาะบัตรเพื่อส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์นั้นเกือบจะไม่มีแล้ว เพราะล้าสมัย

    


Alan Turing


    Alan Turing เป็นบิดาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นชาวอังกฤษ และเค้ายังเป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอีนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ

   


Konrad Zuse


   ช่วงปี 1941 Konrad Zuse ได้สร้างเครื่องคำนวณที่สามารถทำการคำนวณเกี่ยวกับการออกแบบอากาศยานและจรวจมิสซายน์ ตั้งชื่อว่า “Z3” 

    


Prof. Howard H. Aiken


       1937 : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล
         การส่งคำสั่งและข้อมูลเข้าไปในเครื่อง ใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ประมาณ 7 แสนชิ้น ใช้สายไฟยาวกว่า 500 ไมล์ ความยาวเครื่อง 55 ฟุต สูง 8 ฟุต กว้าง 3.5 ฟุต
         ใช้เวลาในการบวกหรือลบประมาณ 1/3 วินาที การคูณ 5 วินาที การหาร 16 วินาที นับว่าช้ามากถ้าเทียบกับปัจจุบัน เครื่อง MARK I ถูกนำมาใช้ทำงานตลอดวันตลอดคืนนานถึง 15 ปีเต็ม MARK I ยังไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวความคิดในปัจจุบันอย่างแท้จริง เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในขณะนั้น

    


Dr. John V. Atanasoff & Clifford Berry


   Dr. John V. Atanasoff ศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ พร้อมผู้ช่วยชื่อ Clifford Berry ได้สร้างเครื่องคำนวนที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องแรกของโลก ภายใต้ชื่อว่า เครื่อง ABC (The Atanasoff-Berry-Computer) โดยใช้หลอดสุญญากาศ ระบบเลขฐาน มีหน่วยความจำและวงจรตรรกะเพื่อใช้กับการคำนวนทางฟิสิกส์ ซึ่งคล้ายกับเครื่องคิดเลขในปัจจุบัน 

    


Dr. John W. Mauchly & J. Presper Eckert

   
พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. ได้ร่วมกันพัฒนา electronic computer โดยอาศัยหลักการออกแบบบนพื้นฐานของ Dr. Atanasoff electronic computer เครื่องแรกมีชื่อว่า ENIAC แม้จะเป็นelectronic computer แต่ENIACก็ยังไม่สามารถเก็บโปรแกรมได้(stored program) จึงได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และท้ายสุดก็ได้พัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC(Universal Automatic Computer) ในเวลาต่อมา

    


Dr. John Von Neumann


   ดร.จอร์น ฟอน นิวแมน (Dr. John Neurnann) ได้เสนอแนวคิดเพื่อ แก้ข้อบกพร่องของเครื่อง MARK I ว่าควรเก็บคำสั่งต่างไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง และเห็นว่าควรใช้ระบบเลขฐานสอง (Binary System) แทนระบบฐานสิบที่ใช้อยู่เดิม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สร้างขึ้นตามข้อเสนอแนะนี้ สร้างที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (CAMBRIDGE) ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1949 มีชื่อว่า EASAC ( Electronic Delayed Stroage Automatic Computer) เครื่องนี้สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ในเครื่องได้ (จอห์น ฟอน นิวแมน ไม้ได้สร้างเครื่องนี้เป็นเพียงผู้เสนอแนวคิดเท่านั้น) และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ดร.จอห์น ฟอน นิวแมน และผู้ร่วมงานของเขาได้สร้างเครื่อง EDSAC ( Electronic Discrete Variable Autometic Computer )เครื่องนี้สามารถเก็บคำสั่งไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นกัน ซึ่งอาจถือว่าเครื่อง EDSAC และ EDVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก

    


Dr. Ted Hoff


   ปี ค.ศ. 1971 ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย

    


Steve Jobs & Steve Wazniak


   1 เมษายน 1976 จ๊อบส์และวอซเนียกก็ได้ก่อตั้ง Apple Computer โดยที่วอซเนียกได้ลาออกจากงานของเขาที่ Hewlett-Packard และทำงานในแผนกการวิจัยและการพัฒนาที่แอปเปิ้ล ผลิตภัณฑ์แรกของพวกเขาคือให้คอมพิวเตอร์ Apple I ในยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยจ๊อบส์และว๊อซเนียกได้ขายคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องแรกให้กับ Paul Terrell ในการเปิดร้านคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Byte Shop ในเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย
     ปี 1980 แอปเปิ้ลเป็นที่โด่งดังและทำให้จ๊อบส์และวอซเนียกกลายเป็นมหาเศรษฐี โดยสตีฟ จ๊อบส์ได้อนุญาตที่จะให้พนักงานบางส่วนของได้ซื้อหุ้นของ Apple ดั้งนั้นวอซเนียกจึงตัดสินใจที่จะแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งของตนออกไป
   ปี 1983 เขาตัดสินใจกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับแอปเปิ้ล แต่เขาไม่ต้องการบทบาทในบริษัทฯมากไปกว่าของวิศวกรคอมพิวเตอร์
   วอซเนียกได้สิ้นสุดการเป็นพนักงานจ้างเต็มเวลากับ Apple ในวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1987 เป็นเวลากว่า 12 ปีหลังจากการก่อตั้งบริษัท แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริหารบริษัท
    นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)
   แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC

    


Bill Gates


   บิล เกตส์ (Bill Gates) เกิดเมื่อปี 1955 ที่เมืองซีแอทเทิล กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1974 ด้วยวัยเพียง 19 ปี แต่พอล อัลเลนได้ออกไปทำธุรกิจของตนเองเมื่อปี 1983
   การประสบความสำเร็จยังยิ่งใหญ่ของบริษัทไมโครซอฟต์ มาจากการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายและบริษัทได้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (ดังชื่อบริษัท "Microsoft" มาจากคำว่า "microcomputer" + "software") เช่น ระบบปฏิบัติการ MS-DOS และ Windows รุ่นต่าง ๆ โปรแกรมเว็บราวเซอร์ IE (Internet Explorer) ภาษาเบสิค รวมถึงภาษา VB (Visual Basic) และอื่น ๆ อีกมากมาย